วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จุฬาฯ พาเพลิน ลีลาไทยในบทเพลง


Concert Choir


รายการแสดงดนตรีเดือนพฤศจิกายน ณ จตุรัสดนตรี ชั้น6 อาคารจามจุรี9 จุฬาฯ


วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557








วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557



หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข่าวประชาสัมพันธ์

นิทรรศการ                                          Proof
ศิลปิน                                                  กลุ่มปรู๊ฟ (Proof)
วิทยา ผุดผ่อง( Witaya Put-pong)
                                             ชญานิษฐ์ ม่วงไทย (ChayanichMuangthai)
                                             พรยมล สุทธัง (Pronyamal Sutthang)
ลักษณะงาน                                        ภาพพิมพ์
ระยะเวลาที่จัดแสดง                    22 สิงหาคม – 7 กันยายน 2557
พิธีเปิดนิทรรศการ                       2 กันยายน 2557 เวลา 18.00น.  
ห้องนิทรรศการ                           ห้องนิทรรศการชั้น 1 ห้อง2
ติดต่อศิลปิน                               0876977028 ชญานิษฐ์
แนวความคิด
กลุ่ม proof นั้น เป็นการรวมตัวกันของศิลปินภาพพิมพ์สามคน ได้แก่ วิทยา ผุดผ่อง /  ชญานิษฐ์ ม่วงไทย และ พรยมล สุทธัง โดยมีจุดร่วมทางอุดมการณ์หลัก ที่พยายามมุ่งหา วิธีการสร้างสรรค์ให้แตกต่างไปจากธรรมเนียมนิยมความเป็นกระบวนการผลิตซ้ำเพื่อหา ความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากวิธีการเดิมของกระบวนการภาพพิมพ์
เปิดให้เข้าชมทุกวัน   จันทร์ ศุกร์  เวลา 10.00 19.00น. 

                                                                    เสาร์,อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 12.00 18.00น.



วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557


จดหมายข่าว
รายการฟังดนตรีที่จุฬาฯ         

สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม เสนอรายการ “ฟังดนตรีที่จุฬาฯ” เป็นรายการแสดงดนตรีที่จัดเป็นประจำทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่สามของเดือน โดยมุ่งเน้นคัดสรรดนตรีอันทรงคุณค่าและหาฟังได้ยาก ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาแสดงอย่างสม่ำเสมอ

ในวันศุกร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม นี้ รายการฟังดนตรีที่จุฬาฯได้รับเกียรติจาก   รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ และสมาคมครูดนตรี(ประเทศไทย)   ร่วมกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี     อาทิ  รศ.ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน    อาจารย์ปี๊บ คงลายทอง  อาจารย์อรวรรณ บรรจงศิลป์  และอาจารย์ประสิทธิ์ คุ้มทรัพย์ 
นำวงเครื่องสายผสมไวโอลินและเปียโนมาบรรเลงให้รับชมและรับฟังกันหลากหลายเพลง ประกอบด้วยเพลงโหมโรงไอยเรศ ราตรีประดับดาว เถา เขมรพวง เถา ตับภุมริน แขกขาว เถา ตับขงเบ้ง มอญอ้อยอิ่ง เถา และลาวดวงเดือน ออกซุ้มลาวแพน ซึ่งนอกจากจะได้ฟังเสียงนักร้องอาวุโสอย่างอาจารย์สมชาย ทับพร แล้ว ยังจะได้ฟังการขับร้องจากคีตศิลปินรุ่นใหม่เสียงดีอีกหลายท่าน นับเป็นครั้งพิเศษอีกวาระหนึ่งของรายการฟังดนตรีที่จุฬาฯ ซึ่งจะนำความสุขมายังท่านผู้ชม อีกทั้งยังได้ร่วมกันสืบรักษาศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีไทยให้คงอยู่ต่อไปอีกด้วย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น


วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557


โหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ 
บรรเลงโดยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
ปรับวงโดย อาจารย์บุญช่วย โสวัตร ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย จุฬาฯ


คลิปวีดิทัศน์แนะนำพิพิธภัณฑ์ในจุฬาฯ

จัดทำโดย

สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


นิทรรศการ                                           แบ่งปัน เวลา รัก (Share Time Love)
ศิลปิน                                                    นาวิน ตันธนะเดชา (Navin Tantanadaecha)
                                                                พรพรรณ สุทัศน์ (Pornpan Sutas)
ลักษณะงาน                                          จิตรกรรมสีน้ำ และเซรามิก
ระยะเวลาที่จัดแสดง                    9 - 24 กรกฎาคม 2557
พิธีเปิดนิทรรศการ                      9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลา  18.00 น.
คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช  ประธานในพิธีเปิด
ห้องนิทรรศการ                         ห้องนิทรรศการชั้น 1 ห้อง1
ติดต่อศิลปิน                              086-0299122
แนวความคิด
ณ จุดหนึ่งที่ห้วงเวลาของคนสองคนมาทับซ้อนกัน
เป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งปันมุมมองแห่งความรัก และร่วมกันสร้างสื่อบางสิ่งบางอย่าง
เพื่อสื่อสารและแบ่งปันประสบการณ์แห่งความรักเหล่านั้
สู่ห้วงเวลาของผู้คนอื่นๆ เหมือนกับวงน้ำที่ไปสะกิดให้เกิด แง่คิด แรงบันดาลใจ ความรู้สึก
ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและจัดการกับความรักที่พวกเขามี
ในเวลาที่เหมาะสมก่อนที่มันจะสายเกินไป

โดยมุมมองของ พรพรรณ สุทัศน์ บอกเล่าถึงการที่
คนเราเมื่อรักสิ่งใดแล้วก็มักเอาใจไปผูกกับสิ่งนั้น ยิ่งรักมากก็ยิ่งผูกแน่นมาก
ถึงจะสูญเสียสิ่งนั้นไปแล้วก็ยังติดกับความรักนั้น
นานวันเข้ากลับกลายเป็นดั่งการกักขังตนเองไว้กับความรู้สึกเหล่านั้น
สุดท้ายแล้วมันก็อยู่ที่เราเลือกว่าจะมีความสุขอยู่ในกรงงามที่สร้างขึ้นมาหรือจะปล่อยใจให้โบยบินอีกครั้ง

ส่วนอีกมุมหนึ่งของ นาวิน ตันธนะเดชา ได้นำเสนอถึง
การได้สัมผัสดอกไม้ทำให้นึกถึงความอบอุ่นจากความรักระหว่างคนใกล้ชิด
ซึ่งเป็นสิ่งสวยงามและคอยเตือนใจให้ดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ
ดังเช่นพันธุ์ไม้ที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี จะเจริญเติบโตและเบิกบานอย่างงดงาม




วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

นิทรรศการ                                           ความฝันในยามตื่น   (Fancy)
ศิลปิน                                                    วฤทธิ ไพศาลจิรศักดิ์   (Waritti Paisarnjirasak)
ลักษณะงาน                                          จิตรกรรม
ระยะเวลาที่จัดแสดง                    4 - 18 สิงหาคม 2557
พิธีเปิดนิทรรศการ                      4 สิงหาคม 2557 เวลา 17.00 น   
ห้องนิทรรศการ                         ห้องนิทรรศการชั้น ห้อง2
ติดต่อศิลปิน                              092-4923914
แนวความคิด
         หากความฝันคือความคิดในยามหลับ ความคิดก็อาจเปรียบได้ว่าคือความฝันในยามตื่นเช่นกัน คนเราต่างติดหลงอยู่ในความคิดความอยาก   มีใครบ้างที่สามารถตอบตนของตนได้ว่าเราเป็นคนกระทำการใช้ความคิดอยู่ หรือ ความคิดกระทำการใช้เรากันแน่ ?
        คนเราคิดไปแล้วก็หัวเราะ คิดไปแล้วก็ร้องไห้ คิดแล้วเป็นสุข เป็นทุกข์ คิดแล้วอยาก คิดแล้วไม่อยาก คิดไปในอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง คิดเป็นสาระและไม่เป็นสาระ คิดเป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง จนในบางครั้งข้าพเจ้ากลับรู้สึกว่าบางทีหากเราขาดสติ ความคิดเสียอีกที่เป็นตัวควบคุมการกระทำของคนเราให้ทำตามสิ่งที่คิดนั้นๆ เหมือนคนที่ตกเป็นทาสแล้วไม่รู้ว่าเป็นทาส หลงอยู่กับความคิดฝัน จนกระทั่งมีความรู้สึกว่า สิ่งที่คิดนั้นเป็นตัวตนของเรา เราคือสิ่งที่เราคิดนั้น สิ่งที่คิดนั้นเราเป็นเจ้าของ แล้วกระทำตามความคิดโดยมิได้ไตร่ตรองถึงผลดีผลเสียที่จะติดตามมา
         ข้าพเจ้ามิได้มีความเห็นว่าความคิดคือตัวการร้ายหรือเป็นภัยแต่โดยถ่ายเดียว เพราะ ความคิดที่ดีงามและสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ และเรายังคงต้องอยู่คู่ความคิดไปตลอดจนกว่าเราจะสิ้นอายุไข หากแต่ต้องการ ให้หันมามีสติระลึกรู้และตระหนักว่า ความคิดก็คือความคิดหาได้มีตัวตนไม่  และอย่านำสิ่งที่คิดนั้นมาเป็นอารมณ์จนเหนือ เหตุและผล ในการดำรงชีวิต





วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557


                      





http://www.dharma-centre.chula.ac.th/



      ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ริเริ่มและจัดตั้งครั้งแรกโดยฝ่ายบริหารจุฬาฯ เพื่อให้มีหน่วยงานที่เป็นรูปธรรมในภารกิจทำนุบำรุงด้านศาสนา  ตลอดจนมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กิจกรรมทางศาสนาของมหาวิทยาลัย (ไม่จำกัดศาสนา) เป็นแหล่งจรรโลงจิตใจ ส่งเสริมและผดุงไว้ซึ่งการศึกษาและปฏิบัติทางศาสนธรรมชี้นำแนวทางชีวิตที่สงบ สร้างคุณค่าและคุณภาพในชีวิตตลอดจนเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณี ซึ่งทั้งหมดนี้จะตอบสนองปณิธานในอันจะเสริมสร้างให้ชาวมหาวิทยาลัยเป็นผู้สมบูรณ์พร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม โดยได้เริ่มวางแผนกำหนดพื้นที่และก่อสร้าง

 อาคารธรรมสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 เป็นต้นมา และสร้างอาคารสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2522 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดแรกเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2522 ได้เริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกด้วยการจัดอภิปรายเรื่อง “ศาสนาคือทางเลือกสุดท้ายของมนุษย์” เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522  และเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2523 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเปิดอาคารเพื่อเริ่มกิจการธรรมสถานฯ อย่างเป็นทางการ ตัวอาคารธรรมสถานก่อสร้างด้วยงบประมาณจากเงินทุนซึ่ง ฯพณฯ ศรีสุภาส จันทรโบส ได้บริจาคไว้ เมื่อ พ.ศ.2488 โดยมีวัตถุประสงค์ให้จุฬาฯ นำไปก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อเป็นที่ระลึกในสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศไทยกับอินเดีย สมทบกับเงินผลประโยชน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้น   ตัวอาคารธรรมสถานจึงเป็นประดุจอนุสาวรีย์ แต่เป็นอนุสาวรีย์ที่มีชีวิต ที่ภายในสามารถเคลื่อนไหวและร่วมสร้างสรรค์คุณค่าความดีงามแก่สังคมได้

สวัสดิ์.jpg

อาจารย์สวัสดิ์  จงกล  
ผู้เชี่ยวชาญด้านเอกสารประวัติจุฬาฯ

สุนันท์.jpg
รองศาสตราจารย์ ดร.สุนันท์  อัญชลีนุกูล
ผู้จัดการระบบประกันคุณภาพ
ชลทิชา.jpg
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลทิชา  สุทธินิรันดร์กุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านจดหมายเหตุ

photo.jpg
นางสาวพิมพ์พิศา  กำเนิดจิรมณี
ผู้อำนวยการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นางวลัยพร  โกศัลวัฒน์.jpg
นางวลัยพร  โกศัลวัฒน์
นักเอกสารสนเทศ 6


รูปถ่าย.jpg

นางสาวศศิพิมพ์   จิระศักดิ์
บรรณารักษ์  P7


นางอัจฉรา  สิทธิพันธ์.jpg
นางอัจฉรา  สิทธิพันธ์
ผู้ปฏิบัติงานบริหาร 5


นางแววดาว  เสาวลักษณ์.jpg
นางแววดาว  เสาวลักษณ์
ผู้ปฏิบัติงานบริหาร 5


มน.jpg
นางมนฤทัย  ศิิริพูล
พนักงานสถานที่

IMG_0025.jpg
นางสาวนัฏกร  เสาวลักษณ์ 
                                        พนักงานมหาวิทยาลัย P9 (ผู้ช่วยธุรการ)