วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
Workshop – Eraser Print : ภาพพิมพ์ยางลบ
กิจกรรมพิเศษ โครงการถนนสายวัฒนธรรม
”ศิลปะหรรษา”
ชื่อกิจกรรม Workshop – Eraser
Print : ภาพพิมพ์ยางลบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม
ลักษณะงาน อบรมศิลปะสำหรับนิสิต
นักศึกษา บุคลากรและผู้ที่สนใจ
ระยะเวลาที่รับสมัคร วันนี้ – 14
มิถุนายน 2556
ระยะเวลาที่จัดอบรม 22 , 29 มิถุนายน ละ 6
กรกฎาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00น.
สถานที่จัดอบรม
หอศิลป์จามจุรี
ห้องนิทรรศการชั้น 1 ห้อง 1-2
สถานที่ส่งใบสมัคร หอศิลป์จามจุรี
(สามารถส่งใบสมัครได้ด้วยตนเอง หรือส่งแฟ็กที่หมายเลข 0-22183708)
สถานที่ขอรับใบสมัคร สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม , หอศิลป์จามจุรี
หรือ
Download
ได้ที่ chamchuriartgallery.blogspot.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 0-22183709 / 085-9457746
ในวันราชการ เวลา 10.30 – 18.00น.
รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม
สำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความยินดี ขอเชิญนิสิต นักศึกษาบุคคลากร และผู้สนใจ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมถนนสายวัฒนธรรม
ศิลปะหรรษา
Workshop –
Eraser Print : ภาพพิมพ์ยางลบ
โดยรับสมัครทุกท่าน ที่มีอายุ 18
ปีขึ้นไป มาเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในกระบวนการทำงานศิลปะ
และสามารถนำผลงานศิลปะของตนเอง ไปประยุกต์ให้เกิดอาชีพเสริม และเปิดจินตนาการให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่
ตลอดจนมีความภาคภูมิใจในการสร้างสรรค์ผลงานและดื่มดำกับสุนทรียภาพของการสร้างผลงานศิลปะด้วยตนเอง
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรมจึงจะจัดให้มีกิจกรรมวิชาการศิลปะ
Workshop
: Eraser Print (ภาพพิมพ์ยางลบ) เพื่อสนับสนุนแนวคิดข้างต้นให้กับนิสิต
บุคลากรและบุคคลที่สนใจ ได้เข้าร่วมกิจกรรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โดยเป็นการคืนกำไรให้แก่สังคม
และสนับสนุนความมีสุนทรียภาพให้แก่ประชาคมของมหาวิทยาลัย
สิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับ
-
ใบประกาศนียบัตรผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม
(ต้องมาครบทั้ง 3 ครั้ง)
-
รวมภาพการเข้าร่วมกิจกรรม โดย Download ได้ที่ www.chamchuriartgallery.blogspot.com
-
ผลงานการสร้างสรรค์ของตนเอง
และที่ขาดไม่ได้.....ของว่างแสนอร่อย
ในห้องแอร์เย็นสบาย
22 , 29
มิถุนายน ละ 6 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.00 -
16.00น.
ณ หอศิลป์จามจุรี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระยะเวลาที่รับสมัครร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้
ถึง 14 มิถุนายน 2556
รับใบสมัครได้ที่
หอศิลป์จามจุรี หรือ
Download ใบสมัครได้ที่ : www.chamchuriartgallery.blogspot.com
www.facebook.com/Chamchuri art gallery
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
:
02-2183709, 085-9457746
(วันราชการ
เวลา 10.30 – 18.00น.)
จุฬาวาทิต
รายการแสดงดนตรีจุฬาวาทิต ปิดฤดูการแสดงช่วงฤดูฝน
และปิดปรับปรุงหอแสดงดนตรี
เปิดการแสดงอีกครั้งกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หอศิลป์จามจุรีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หอศิลป์จามจุรีเปิดเมื่อวันที่
๕ ธันวาคม ๒๕๔๔
ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในการที่จะเผยแพร่งานศิลปะสู่สาธารณชน ในวงกว้าง
รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนในมหาวิทยาลัยมีความรู้ ความเข้าใจในสุนทรียศิลป์มากขึ้น
ตลอดจนเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของศิลปินและผู้สนใจทั่วไป
ปัจจุบันมีงานนิทรรศการศิลปะ ของศิลปินอาชีพที่มีชื่อเสียง ศิลปินระดับกลาง
นิสิตนักศึกษา และบุคลากรทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย
ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาแสดงผลงานตลอดเวลา รวมทั้งจัดเก็บผลงานศิลปกรรมที่มหาวิทยาลัยเก็บสะสมไว้จำนวนมาก ในระยะเวลาประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมา นับเป็นแหล่งสะสมงานศิลปะมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
โดยผลงานเหล่านี้ล้วนเป็นของศิลปินที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน
อาทิ เหม เวชกร เขียน
ยิ้มสิริ อังคาร กัลยาณพงศ์ ถวัลย์ ดัชนี
ประเทือง เอมเจริญ เป็นต้น
หอศิลป์จามจุรี ตั้งอยู่ที่อาคารจามจุรี ๘
ติดกับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
เปิดให้เข้าชมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เปิดเวลา
๑๐.๐๐ น.- ๑๙.๐๐น.และวันหยุดราชการเปิดเวลา ๑๒.๐๐ น.-๑๘.๐๐น.
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จังหวัดเชียงใหม่
พระตำหนักดาราภิรมย์ เป็นพระตำหนักของ
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นมรดกทรงคุณค่าของแผ่นดิน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ทำการบูรณะพระตำหนักขึ้นใหม่ให้สมบูรณ์งดงามใกล้เคียงสภาพเดิมเมื่อกาลก่อน
และจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์
สิ่งของเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
และพระกรณียกิจต่างๆของพระองค์ท่าน โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เสด็จเปิดพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๒ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รวมทั้งยังได้จัดสร้างอาคารรัศมีทัศนา
เพื่อเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
และงานด้านศิลปวัฒนธรรม ล้านนา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทุกๆ ๓ เดือน รวมทั้งดำเนินโครงการฝึกอบรม
งานทางวัฒนธรรมล้านนาต่างๆเช่น ดนตรีพื้นเมือง ช่างฟ้อน การตัดตุง และทำโคม
แก่นักเรียน นักศึกษา และชุมชนโดยรอบพระตำหนักดาราภิรมย์
เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ และสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้คงอยู่สืบไป กิจกรรมสำคัญประจำปีคืองานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
๙ ธันวาคม ของทุกปี ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้าชมพิพิธภัณฑ์กว่า ๔๐,๐๐๐ คนต่อปี พิพิธภัณฑ์ฯ ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่ริม
จังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐น.-๑๗.๐๐น.
ภาพบางส่วนจากการประกวดถ่ายภาพ"พระตำหนักดาราภิรมย์สิริสมจุฬาสถาน"
ภาพบางส่วนจากการประกวดถ่ายภาพ"พระตำหนักดาราภิรมย์สิริสมจุฬาสถาน"
พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน
พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน
เกาะสีชัง จ. ชลบุรี
“พระจุฑาธุชราชสถาน” เป็นพระราชวังบนเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย
สร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 โดยเริ่มก่อสร้างอาคารที่พักต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432
และใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์
จนกระทั่งเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (เหตุการณ์ รศ. 112) ซึ่งมีกองทหารบุกขึ้นเกาะสีชังและปิดอ่าวไทย
การก่อสร้างพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆ จึงยุติลง และต่อมา ในปี พ.ศ.2435 โปรดให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ไปสร้างที่อื่น
แต่นั้นมาเป็นอันเลิกพระราชวังที่เกาะสีชัง
ในปี พ.ศ. 2521 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบสิทธิการใช้ที่ดินจากกรมธนารักษ์
โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่ง จัดตั้งสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล และศูนย์ฝึกหัดนิสิต
พร้อมทั้งดูแลโบราณสถาน และโบราณวัตถุในเขตพื้นที่ดังกล่าว
ปัจจุบันสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
และขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2533 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับกรมศิลปากรทำการปรับปรุงพื้นที่ในส่วนของพระราชฐานซึ่งมีพื้นที่ประมาณ
219 ไร่ อันประกอบด้วยอาคารสำคัญ 5 หลัง
ได้แก่ เรือนไม้ริมทะเล ตึกผ่องศรี ตึกอภิรมย์ ตึกวัฒนา พระอุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตร
และมีสถานสำคัญต่างๆ ได้แก่ สระ บ่อ พุ ธาร จำนวน 27 แห่ง
บันไดจำนวน 21 แห่ง สวน ถ้ำ และทางเดิน
ซึ่งล้วนแต่ได้รับชื่อพระราชทานที่มีความไพเราะ คล้องจองกัน
ซึ่งล้วนเป็นสิ่งทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ในการปรับปรุงและอนุรักษ์อาคารและโบราณสถาน
ตลอดจนสถานที่สำคัญต่างๆ นั้น
ทางมหาวิทยาลัยได้พยายามรักษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้อยู่ในสภาพเดิม
พร้อมทั้งมีการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้สมบูรณ์ และสวยงาม
เพื่อให้สถานที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
ซึ่งได้จัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชสถาน” ในปี พ.ศ.2545 โดยอยู่ในความดูแลของสำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่
12 มกราคม 2547 ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงนิทรรศการ ภายในอาคารต่างๆ ประกอบด้วย
เรือนไม้ริมทะเล จัดแสดงนิทรรศการสถานที่น่าสนใจในเกาะสีชัง, เรือนวัฒนา จัดแสดงนิทรรศการเหตุการณ์สำคัญบนเกาะสีชังในสมัยรัชกาลที่
5, เรือนผ่องศรี
จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติและประวัติบุคคลสำคัญผู้มีบทบาทเกี่ยวกับเกาะสีชังในอดีต
และ เรือนอภิรมย์ จัดแสดงนิทรรศการสิ่งปลูกสร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 5
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00
– 16.00 น. ผู้สนใจเข้าชม สามารถเดินทางมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
โดยการลงเรือโดยสาร ที่ท่าเรือเกาะลอย อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที (มีเรือออกทุกชั่วโมง)
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชสถาน โทร. 038 –
216416 โทรสาร 038 – 216412
ภาพบรรยากาศโดยรอบ
พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง
ภาพบรรยากาศโดยรอบ
พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคาร ๔ ชั้น
ตั้งอยู่ใกล้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์
ชั้น๑ จัดเป็นโถงแสดงงานศิลปะ ของนิสิต และบุคลากร
ชั้น๒ห้องศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย จัดแสดงข้อมูลต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงศาสตร์ต่างๆที่เกิดขึ้น พัฒนาและบูรณาการโดยชาวจุฬาฯ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
ชั้น๑ จัดเป็นโถงแสดงงานศิลปะ ของนิสิต และบุคลากร
ชั้น๒ห้องศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย จัดแสดงข้อมูลต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงศาสตร์ต่างๆที่เกิดขึ้น พัฒนาและบูรณาการโดยชาวจุฬาฯ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
ชั้นที่๓ ห้องอุทยานจามจุรี จัดแสดงระบบกายภาพของพื้นที่ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน
แสดงถึงประวัติความเป็นมา การจัดสร้างอาคาร
การพัฒนาพื้นที่ต่างๆในบริเวณของมหาวิทยาลัย
ชั้นที่๔ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาสังคมไทย นิทรรศการเพื่อแสดงความเกี่ยวข้อง การเกื้อกูลกันระหว่างจุฬาฯกับสังคม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๗
พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชม ๐๙.๐๐น. -๑๗.๐๐น. จันทร์ -ศุกร์ ติดต่อ ๐๒ ๒๑๘๓๖๔๕
ชั้นที่๔ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาสังคมไทย นิทรรศการเพื่อแสดงความเกี่ยวข้อง การเกื้อกูลกันระหว่างจุฬาฯกับสังคม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๗
พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชม ๐๙.๐๐น. -๑๗.๐๐น. จันทร์ -ศุกร์ ติดต่อ ๐๒ ๒๑๘๓๖๔๕
เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างขึ้นเนื่องในโอกาส ๗๐ ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธียกเสาเอก และพิธีสวดมนต์ขึ้นเรือนไทย รวมทั้งทรงดนตรีเฉลิมฉลองเพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๑
หมู่เรือนไทย
ออกแบบโดยรองศาสตราจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ(สถาปัตยกรรมไทย)
ประกอบด้วยเรือน ๕ หลัง คือเรือนประธาน เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปพระราชทาน ศีรษะครูเทพเจ้าทางดนตรีไทย
และเครื่องดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เรือนหลังที่ ๒
จัดแสดงเครื่องใช้และวัตถุโบราณ อาทิ เครื่องเบญจรงค์ เครื่องแก้ว เครื่องเงิน
ผ้าทอโบราณ เรือนหลังที่ ๓ เป็นที่จัดแสดงเครื่องจักสานไทยภาคต่างๆ และศาลากลางน้ำขนาดใหญ่
สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ และเรือนสำนักงาน นับเป็นหมู่อาคารเรือนไทยที่งดงาม
เป็นแหล่งจัดกิจกรรมการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยให้นิสิตและผู้ที่สนใจ รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศทางวัฒนธรรมขึ้นในชุมชนมหาวิทยาลัยอีกด้วย
วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
OFFICE OF ART AND CULTURAL CHULALONGKORN UNIVERSITY
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับงานด้านศิลปวัฒนธรรม
และถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ที่จะต้องทำนุบำรุง รักษา และพัฒนา
ให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน เริ่มต้นขึ้นขึ้นจากมติสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่
๔๖๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๒๘ ให้จัดตั้ง“ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” และดำเนินงานมากกว่า
๒๕ ปี ปัจจุบันได้ปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ภายใต้ชื่อ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม
โดยมีภาระหน้าที่ในการขับเคลื่อนและดำเนินการตามพันธกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย
การอนุรักษ์ พัฒนา สร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของนิสิต คณาจารย์ และสังคม
ตลอดจนเป็นหน่วยงานหลักในการเก็บและจัดการด้านข้อมูลศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)