วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พิธีเปิดนิทรรศการ "ครัวเงินของงาม"

เจ้าวงสักก์ ณ เชียงใหม่ และรองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาฯ
ทำพิธีเปิดนิทรรศการ " ครัวเงินของงาม" ณ อาคารรัศมีทัศนา ในพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์

ในภาพจากซ้าย ผศ.พอ.ชูชาติ พิทักษากร ศิลปินแห่งชาติ ,อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ,เจ้าวงสักก์ ณ เชียงใหม่

วงวิโอลาจุฬาฯ(บางส่วน)บรรเลงบทเพลงล้านนา เปิดงาน





ภายในห้องรัศมีทัศนา สถานที่จัดนิทรรศการ

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ติดต่อและที่อยู่สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม

สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





ตั้งอยู่ที่  : อาคารศิลปวัฒนธรรม
               (ใกล้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาฯ และสนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล)



                    สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
                กรุงเทพมหานคร 10330 
                โทรศัพท์ 02 -2183634-5  โทรสาร 022183634
                 E-mail  : cu_cultural @ hotmail.com

                         facebook : สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม

อัษฎางควัน




ห้องนิทรรศการรัศมีทัศนา


วิโอลาดาราภิรมย์



                 ภาพการแสดงคอนเสริตล้านนาดาราภิรมย์


ผศ.พอ.ชูชาติ พิทักษากร ศิลปินแห่งชาติ ผู้อำนวยเพลง,อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ
และผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





ประวัติวงซิมโฟนีจุฬาฯ

วงซิมโฟนีออเคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
Chulalongkorn University Symphony Orchestra
Under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Rajanaganindra
               
วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งขึ้นในโอกาสครบรอบ    73 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดแสดงเป็นครั้งแรก ในเดือนมีนาคม 2533 โดยสมเด็จพระเจ้า  พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานในการแสดงดังกล่าว  และในเวลาต่อมาทรงรับวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ 

ปัจจุบันวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ของการก่อตั้งวง ได้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในหลายด้าน  ในด้านของการขยายรูปแบบของการรวมวงดนตรีที่หลากหลายมากขึ้น อาทิเช่น วงเครื่องสาย (String Orchestra), วงเครื่องเคาะ (Percussion Ensemble), วงฟลุต (Flute Ensemble), วงเครื่องลมทองเหลือง (Brass Ensemble), คณะนักร้องประสานเสียง (Concert Choir) และ วงวิโอล่า (Viola Ensemble) ในนามของ Viola Lovers” รวมทั้งมีการเชิญผู้อำนวยการเพลงจากวงดนตรีที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศมา เป็นผู้อำนวยเพลงรับเชิญ  เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ความรู้แก่คณาจารย์และนิสิตอีกด้วย  ทั้งนี้  เพื่อสืบสานพระดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ ในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านดนตรีคลาสสิคแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป 
 
 ในด้านของรูปแบบการจัดแสดงและจำนวนครั้งในการจัดแสดงคอนเสิร์ตที่นำเสนอในแต่ละฤดูกาลคอนเสิร์ตซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ก็มีความหลากหลายตามจำนวนความหลากหลายของวงดนตรีเช่นกัน  อาทิ   การแสดงซิมโฟนีออร์เคสตร้า ซึ่งจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การแสดงในเทศกาล      “Art Music Fest”:ชวนฟังเพลงบรรเลงที่จุฬาฯ  ซึ่งเป็นเทศกาลการแสดงดนตรีคลาสสิกประจำปีที่น่าสนใจยิ่ง ประกอบด้วยการบรรเลงและการขับร้องของวงดนตรีที่มีความหลากหลาย ทั้งจำนวนและประเภทของเครื่องดนตรี   จัดแสดงต่อเนื่องหลายวัน ณ หอแสดงดนตรี (Music Hall) อาคารศิลปวัฒนธรรม, การแสดงของวงวิโอล่า    “Viola Lovers”  ซึ่งจัดแสดงเป็นประจำ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีละ 2 ครั้ง, การแสดงของคณะนักร้องประสานเสียง(Concert Choir)  ซึ่งจัดแสดงเป็นประจำทุกปี  นอกจากนี้  ยังมีการจัดการแสดงในลักษณะการสัญจรไปแสดงดนตรีคลาสสิคในต่างจังหวัดอีกด้วย                

ทางมหาวิทยาลัยได้จัดสร้างสถานที่ฝึกซ้อมการแสดงและสำนักงานของวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้น ณ ชั้น 6  อาคารจามจุรี 9  เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมดนตรีคลาสสิค ประกอบด้วย ห้องฝึกซ้อมขนาดใหญ่ จำนวน 1 ห้อง  และห้องฝึกซ้อมขนาดเล็ก จำนวน 3 ห้อง นอกจากนี้ยังจัดแบ่งพื้นที่สำหรับจัดทำเป็นห้องสำนักงาน และห้องสมุดอีกด้วย   ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมการแสดงดนตรีคลาสสิคในนาม วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ที่สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ชั้น 1 อาคารศิลปวัฒนธรรม โทร 02-2183634 และติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่