ในการจัดงานฉลอง 50 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2510 มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ รองอธิการบดี ฝ่ายปกครองและคณบดีคณะอักษรศาสตร์ รวบรวมเอกสารและสิ่งของที่มีคุณค่าต่อประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น ในครั้งนั้นได้จัดทำหุ่นจำลองขนาดเล็กแสดงวิวัฒนาการเครื่องแบบนิสิตจุฬาฯ ไว้ 1 ชุด รวมทั้งเอกสารสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้จำนวนหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2529 ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล อธิการบดีได้มอบให้รองศาสตราจารย์ บุญวัฒน์ วีสกุล พิจารณาเรื่องการรวบรวมเอกสารและสิ่งของที่มีคุณค่าต่อประวัติจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อีกครั้ง ในครั้งนั้นได้มีการจัดตั้งโครงการรวบรวมข้อมูลประวัติจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยพร้อมกับแต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวมข้อมูลฯ ขึ้นคณะหนึ่ง มีรองศาสตราจารย์ บุญวัฒน์ วีสกุล เป็นประธาน
เมื่อได้รวบรวมเอกสารและสิ่งของจำนวนหนึ่ง มหาวิทยาลัยจึงจัดตั้งโครงการรวบรวมและแสดงประวัติจุฬาฯ และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการดังกล่าวขึ้นคณะหนึ่ง มีรองศาสตราจารย์บุญวัฒน์ วีสกุล เป็นประธาน ต่อมามหาวิทยาลัยได้จัดตั้งโครงการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นมีคณะ กรรมการรับผิดชอบดำเนินการ และมี รองศาสตราจารย์ อำพน นะมาตร์ เป็นประธาน
โครงการจัดตั้งหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอนุมัติเงินผลประโยชน์จำนวน 2.5 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงตึกจักรพงษ์ ซึ่งเคยใช้เป็นสโมสรนิสิตและองค์การบริหารนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) เพื่อจัดตั้งเป็นหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งหอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นมี รองศาสตราจารย์ อำพน นะมาตร์ เป็นประธาน
เมื่อการซ่อมแซมตึกจักรพงษ์ เสร็จเรียบร้อยและจัดแสดงนิทรรศการประจำแสดงประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับห้องเก็บเอกสารประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และห้องทำงาน มหาวิทยาลัยได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพิธีเปิดหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2531
ส่วนห้องด้านทิศใต้ของอาคารหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดให้ เป็นฝ่ายจดหมายเหตุประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีเอกสารและวัตถุที่มีคุณค่าต่อประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นจำนวน มากอาจทำให้อาคารไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ใน พ.ศ. 2542 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงอนุญาตให้ใช้สถานที่ ชั้น 15 อาคารบรมราชกุมารี เป็นสำนักงานห้องจดหมายเหตุ เก็บเอกสารและวัตถุมีค่าต่อประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีสถานที่ทำงานแยกเป็น 2 แห่งคือที่ ตึกจักรพงษ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานและพิพิธภัณฑ์ และที่ ชั้น 15 อาคารบรมราชกุมารี ซึ่งใช้เป็น ห้องจดหมายเหตุ จัดเก็บและให้บริการเอกสารของฝ่ายจดหมายเหตุหอประวัติจุฬาฯ ตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบันหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสถานที่ทำการแยกเป็น 2 แห่ง คือ ตึกจักรพงษ์ อยู่ตรงข้ามหอนาฬิกา อยูระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ใช้เป็นสถานที่ทำงานสำนักงาน จัดนิทรรศการถาวรและชั่วคราว และเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของที่มีคุณค่าในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย และห้องเอกสารจดหมายเหตุ ชั้น 15 อาคารบรมราชกุมารี อยู่ระหว่างคณะศิลปกรรมศาสตร์และอาคารมหาจักรีสิรินธร ซึ่งเป็นสถานที่เก็บเอกสาร หนังสือ สื่อโสตทัศน์ต่าง ๆ และให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ หนังสือ แล สี่อโสตทัศน์ต่าง ๆ
ตึกจักรพงษ์
ชั้นล่าง
ใช้เป็นส่วนที่จัด นิทรรศการหมุนเวียน เช่น นิทรรศการวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิทรรศการรับน้องใหม่ /ไหว้ครู นิทรรศการงานวันพระราชทานปริญญาบัตร งานวันปิยมหาราช นิทรรศการวันมหาธีรราชเจ้าและนิทรรศการพิเศษตามแต่โอกาส
ชั้นบน
ห้องโถงซึ่งเรียกเป็นทางการว่า "ห้องโถงเฉลิมพระเกียรติ" สำหรับจัดนิทรรศการถาวร มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ 5 รัชกาล ซึ่งเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระฉายาลักษณ์สมเด็จเจ้าฟ้าพระอาจารย์ 4 พระองค์ ของที่ระลึก และเอกสารวิชาการที่หอประวัติจุฬาฯ จัดทำขึ้น
อาคารบรมราชกุมารี ชั้น 15
ฝ่ายจดหมายเหตุและฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายจดหมายเหตุ จะจัดหาและให้บริการเอกสารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือหนังสือและเอกสารต่างๆ เช่น ทะเบียนประวัติข้าราชการ เอกสารบุคคล กฎหมาย ระเบียบ คำสั่งรายงานการประชุม เอกสารแผ่นพับ จุลสาร วารสาร หนังสือ ภาพถ่าย ฟิล์ม Slide, Tape, Video tape, VCD, VDO ฝ่ายสารสนเทศ ทำงานประสานกับฝ่ายจดหมายเหตุเพื่อจัดทำเอกสารลงในระบบดิจิตอล
ชั้นล่าง
ใช้เป็นส่วนที่จัด นิทรรศการหมุนเวียน เช่น นิทรรศการวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิทรรศการรับน้องใหม่ /ไหว้ครู นิทรรศการงานวันพระราชทานปริญญาบัตร งานวันปิยมหาราช นิทรรศการวันมหาธีรราชเจ้าและนิทรรศการพิเศษตามแต่โอกาส
ชั้นบน
ห้องโถงซึ่งเรียกเป็นทางการว่า "ห้องโถงเฉลิมพระเกียรติ" สำหรับจัดนิทรรศการถาวร มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ 5 รัชกาล ซึ่งเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระฉายาลักษณ์สมเด็จเจ้าฟ้าพระอาจารย์ 4 พระองค์ ของที่ระลึก และเอกสารวิชาการที่หอประวัติจุฬาฯ จัดทำขึ้น
อาคารบรมราชกุมารี ชั้น 15
ฝ่ายจดหมายเหตุและฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายจดหมายเหตุ จะจัดหาและให้บริการเอกสารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือหนังสือและเอกสารต่างๆ เช่น ทะเบียนประวัติข้าราชการ เอกสารบุคคล กฎหมาย ระเบียบ คำสั่งรายงานการประชุม เอกสารแผ่นพับ จุลสาร วารสาร หนังสือ ภาพถ่าย ฟิล์ม Slide, Tape, Video tape, VCD, VDO ฝ่ายสารสนเทศ ทำงานประสานกับฝ่ายจดหมายเหตุเพื่อจัดทำเอกสารลงในระบบดิจิตอล
พระเกี้ยว
พระเกี้ยวองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสร้างพระเกี้ยวองค์นี้ ซี่งจำลองจากพระเกี้ยวองค์จริงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์ประจำรัชกาล) ประจำพระองค์ มหาวิทยาลัยได้ขอความร่วมมือ ให้ช่างสิบหมู่กรมศิลปากรสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายพระเกี้ยวองค์นี้ แล้วพระราชทานแก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยฉบับเก่าแก่ที่สุดของหอประวัติจุฬาฯ
หนังสือพิมพ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เดิมชื่อว่าหนังสือพิมพ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2457 และเมื่อมีการประกาศประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2459 นั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย โดยได้เริ่มตีพิมพ์เป็นฉบับแบบแรก เมื่อ พ.ศ. 2466 เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยบทความของคณาจารย์ นิสิต ข่าวมหาวิทยาลัยซึ่งมีคอลัมน์หลายประเภท และเป็นที่นิยมในการอ้างอิงประกอบการเขียนเรื่องเกี่ยวกับแวดวงการศึกษา และวงการต่างๆ เนื่องจากผู้เขียนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และวัยวุฒิ หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย ฉบับเก่าที่สุดที่มีในหอประวัติจุฬาฯ คือ หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 13 ฉบับที่ 7 อนุสสรณียแห่งปีที่ 13 ออกเป็นที่ระลึกในงานตั้งปริญญาวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2478 จัดทำโดยสโมสรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือองค์การบริหารสโมสรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นบรรณาธิการ กำหนดออกรายเดือน คือ เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม แล้วหยุดไปออกฉบับสิ้นปีในเดือนมีนาคม รวมทั้งปีมีออกหนังสือ 7 ตอน (เล่ม) ผู้ที่เป็นสมาชิกจะเสียค่าบำรุงปีละ 3 บาท ภายในเล่มประกอบด้วยบทความของนักเขียนสำคัญๆ ได้แก่ "ธัมมาลัย" ของ ว.ธ.ป., "คณะเกษตรวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย" ของครูเทพ, เตือนหนุ่ม" ของเสฐียรโกเศศ แลนาคะประทีป, "ชีวิตในมหาวิทยาลัย" ของ ป. โรจนบุรานนท์, "สันนิบาตชาต" ของ ส. เสฐียรโกเศศ, "หูไม่ดี" ของนายตำรวจ ณ เมืองใต้, "สุดทาง" ของสัตยธรรม, "1/500?" ของดอกไม้สด, "ไม่เข้าใจ" ของ พ. เนตรรังษี, "บรรยเวกษก์ บรรยาย" ของบรรยเวกษก์, "พระขันธกุมาร" ของทรงวาด, "สยามกับความต้องการในปัจจุบัน" ของบุญล้อม เลิศเฮง และ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร, "หลวงประดิษฐ์" ของสมจิตต์ ศึกษมัต, "เทวี" ของนวนาค, "สุขกับทุกข์" ของทวี ทองจันทร์
ฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก
[ สวัสดิ์ จงกล ]
ครุยเป็นเสื้อคลุมประดับเกียรติยศสวมทับบนเครื่องแบบเต็มยศตามหน้าที่ในพระราชพิธี ซึ่งมีหมายรับสั่งให้สวมครุย ครุยมีสามแบบคือ ครุยพระราชวงศ์ ครุยเสนามาตย์ และครุยตำแหน่ง
ครุยพระราชวงศ์ เป็นฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ สำหรับฉลองพระองค์ครุยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเรียกกันว่าฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์
ครุยเสนามาตย์ ตามความในมาตรา ๕ ของพระราชกำหนดเสื้อครุย (เพิ่มเติม) พุทธศักราช ๒๔๕๗ มีความว่า ผู้ซึ่งจะสวมครุยได้โดยบรรดาศักดิ์นั้นคือ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นสูงนับตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า หรือจุลวราภรณ์ หรือจุลสุราภรณ์ขึ้นไป นอกจากนั้นในมาตรา ๖ ของพระราชกำหนดฉบับเดียวกันได้กำหนดว่าผู้ที่จะสวมเสื้อ ครุยตำแหน่ง นั้นคือ (ก) ผู้พิพากษาทุกชั้นให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ (ข) พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล และ (ค) ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมเสื้อครุย เสื้อครุยเสนามาตย์มี ๓ ชั้นคือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ได้มีการกำหนดไว้แน่นอนว่าตำแหน่งและยศใดมีสิทธิ์สวมเสื้อครุยชั้นใด
นอกเหนือจากครุยที่ใช้สวมในพระราชพิธีแล้ว ยังมีครุยอีกสามสถาบัน ได้แก่ (๑) ครุยอาจารย์และครุยครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่ผู้ตรวจการพิเศษ กรรมการ อาจารย์ และครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ต่อมาได้พระราชทานแก่โรงเรียนที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์อีก ๓ แห่ง (โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนพรานหลวง) (๒) ครุยเนติบัณฑิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ (๓) ครุยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ครุยของสามสถาบันนี้นอกเหนือจากครุยของโรงเรียนวชิราวุธฯ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้วได้มีพระราชกำหนดว่าด้วยครุยของทั้งเนติบัณฑิตยสภา และของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๗๓ กำหนดให้มีครุยสองแบบคือ ครุยบัณฑิต กับครุยบัณฑิตพิเศษ ครุยบัณฑิต มีสามชั้นคือ บัณฑิตชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ซึ่งตรงกับดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิตในปัจจุบัน ส่วน ครุยบัณฑิตพิเศษ เป็นฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของไทยที่ตึกบัญชาการ (ตึก ๑ คณะอักษรศาสตร์เดิม ในปัจจุบันเรียกอาคารมหาจุฬาลงกรณ์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓
ฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกนั้น โรงเรียนวชิราวุธฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวแล้วข้างต้น และจะถวายเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลังพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้วเท่านั้น ดังนั้นโรงเรียนวชิราวุธฯ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนั้นยังไม่ได้ทรงรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โรงเรียนจึงยังมิได้ทูลเกล้าฯ ถวาย
โดยนัยของพระราชนิยมและพระราชปฏิบัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงและพระราชทานแก่โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์นั้น จะทรงฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกในงานของโรงเรียนวชิราวุธฯ และโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกงานไม่ว่าจะเป็นงานพระราชทานประกาศนียบัตรแก่นักเรียน งานแข่งขันกรีฑา งานแสดงละคร ในงานดังกล่าวจะโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพาร ผู้ตรวจการ กรรมการ อาจารย์ และครูทรงสวมฉลองพระองค์ครุยและสวมครุยด้วย พระราชนิยมและพระราชปฏิบัตินี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงในงานเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ในครั้งนั้นได้ทรงฉลองพระองค์ครุยเนติบัณฑิต ส่วนพระราชวงศ์ ข้าราชบริพาร ข้าราชการจะทรงฉลองพระองค์ครุยหรือสวมครุยเนติบัณฑิต หรือครุยอาจารย์ของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายเข็มบัณฑิตพิเศษของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ในฐานะพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ในครั้งนั้นได้พระราชทานพระราชดำรัสตอบว่า
"เรามีความขอบใจที่ให้เข็มบัณฑิตทั้ง ๓ พแนกแก่เรา เรามีความยินดีไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรเราจะตั้งใจอุปถัมภ์ให้กิจการได้เปนไปสำเร็จตามความมุ่งหมายและความพยายามของกรรมการ"
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรเวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมามหาวิทยาลัยได้ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
จะเห็นได้ว่าเนื้อหาที่มีในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยฉบับนี้ มีคุณค่าในการค้นคว้าทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี พุทธศาสนา และวิถีชีวิตในสังคมอดีต จึงนับเป็นแหล่งค้นคว้าแหล่งหนึ่งที่ควรให้ความสนใจ
เดิมชื่อว่าหนังสือพิมพ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2457 และเมื่อมีการประกาศประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2459 นั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย โดยได้เริ่มตีพิมพ์เป็นฉบับแบบแรก เมื่อ พ.ศ. 2466 เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยบทความของคณาจารย์ นิสิต ข่าวมหาวิทยาลัยซึ่งมีคอลัมน์หลายประเภท และเป็นที่นิยมในการอ้างอิงประกอบการเขียนเรื่องเกี่ยวกับแวดวงการศึกษา และวงการต่างๆ เนื่องจากผู้เขียนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และวัยวุฒิ หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย ฉบับเก่าที่สุดที่มีในหอประวัติจุฬาฯ คือ หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 13 ฉบับที่ 7 อนุสสรณียแห่งปีที่ 13 ออกเป็นที่ระลึกในงานตั้งปริญญาวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2478 จัดทำโดยสโมสรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือองค์การบริหารสโมสรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นบรรณาธิการ กำหนดออกรายเดือน คือ เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม แล้วหยุดไปออกฉบับสิ้นปีในเดือนมีนาคม รวมทั้งปีมีออกหนังสือ 7 ตอน (เล่ม) ผู้ที่เป็นสมาชิกจะเสียค่าบำรุงปีละ 3 บาท ภายในเล่มประกอบด้วยบทความของนักเขียนสำคัญๆ ได้แก่ "ธัมมาลัย" ของ ว.ธ.ป., "คณะเกษตรวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย" ของครูเทพ, เตือนหนุ่ม" ของเสฐียรโกเศศ แลนาคะประทีป, "ชีวิตในมหาวิทยาลัย" ของ ป. โรจนบุรานนท์, "สันนิบาตชาต" ของ ส. เสฐียรโกเศศ, "หูไม่ดี" ของนายตำรวจ ณ เมืองใต้, "สุดทาง" ของสัตยธรรม, "1/500?" ของดอกไม้สด, "ไม่เข้าใจ" ของ พ. เนตรรังษี, "บรรยเวกษก์ บรรยาย" ของบรรยเวกษก์, "พระขันธกุมาร" ของทรงวาด, "สยามกับความต้องการในปัจจุบัน" ของบุญล้อม เลิศเฮง และ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร, "หลวงประดิษฐ์" ของสมจิตต์ ศึกษมัต, "เทวี" ของนวนาค, "สุขกับทุกข์" ของทวี ทองจันทร์
ฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก
[ สวัสดิ์ จงกล ]
ครุยเป็นเสื้อคลุมประดับเกียรติยศสวมทับบนเครื่องแบบเต็มยศตามหน้าที่ในพระราชพิธี ซึ่งมีหมายรับสั่งให้สวมครุย ครุยมีสามแบบคือ ครุยพระราชวงศ์ ครุยเสนามาตย์ และครุยตำแหน่ง
ครุยพระราชวงศ์ เป็นฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ สำหรับฉลองพระองค์ครุยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเรียกกันว่าฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์
ครุยเสนามาตย์ ตามความในมาตรา ๕ ของพระราชกำหนดเสื้อครุย (เพิ่มเติม) พุทธศักราช ๒๔๕๗ มีความว่า ผู้ซึ่งจะสวมครุยได้โดยบรรดาศักดิ์นั้นคือ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นสูงนับตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า หรือจุลวราภรณ์ หรือจุลสุราภรณ์ขึ้นไป นอกจากนั้นในมาตรา ๖ ของพระราชกำหนดฉบับเดียวกันได้กำหนดว่าผู้ที่จะสวมเสื้อ ครุยตำแหน่ง นั้นคือ (ก) ผู้พิพากษาทุกชั้นให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ (ข) พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล และ (ค) ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมเสื้อครุย เสื้อครุยเสนามาตย์มี ๓ ชั้นคือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ได้มีการกำหนดไว้แน่นอนว่าตำแหน่งและยศใดมีสิทธิ์สวมเสื้อครุยชั้นใด
นอกเหนือจากครุยที่ใช้สวมในพระราชพิธีแล้ว ยังมีครุยอีกสามสถาบัน ได้แก่ (๑) ครุยอาจารย์และครุยครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแก่ผู้ตรวจการพิเศษ กรรมการ อาจารย์ และครูของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ต่อมาได้พระราชทานแก่โรงเรียนที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์อีก ๓ แห่ง (โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนพรานหลวง) (๒) ครุยเนติบัณฑิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่สมาชิกเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ (๓) ครุยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ครุยของสามสถาบันนี้นอกเหนือจากครุยของโรงเรียนวชิราวุธฯ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้วได้มีพระราชกำหนดว่าด้วยครุยของทั้งเนติบัณฑิตยสภา และของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๗๓ กำหนดให้มีครุยสองแบบคือ ครุยบัณฑิต กับครุยบัณฑิตพิเศษ ครุยบัณฑิต มีสามชั้นคือ บัณฑิตชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ซึ่งตรงกับดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิตในปัจจุบัน ส่วน ครุยบัณฑิตพิเศษ เป็นฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของไทยที่ตึกบัญชาการ (ตึก ๑ คณะอักษรศาสตร์เดิม ในปัจจุบันเรียกอาคารมหาจุฬาลงกรณ์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓
ฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกนั้น โรงเรียนวชิราวุธฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวแล้วข้างต้น และจะถวายเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลังพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้วเท่านั้น ดังนั้นโรงเรียนวชิราวุธฯ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนั้นยังไม่ได้ทรงรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โรงเรียนจึงยังมิได้ทูลเกล้าฯ ถวาย
โดยนัยของพระราชนิยมและพระราชปฏิบัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงและพระราชทานแก่โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์นั้น จะทรงฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกในงานของโรงเรียนวชิราวุธฯ และโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกงานไม่ว่าจะเป็นงานพระราชทานประกาศนียบัตรแก่นักเรียน งานแข่งขันกรีฑา งานแสดงละคร ในงานดังกล่าวจะโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพาร ผู้ตรวจการ กรรมการ อาจารย์ และครูทรงสวมฉลองพระองค์ครุยและสวมครุยด้วย พระราชนิยมและพระราชปฏิบัตินี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงในงานเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ในครั้งนั้นได้ทรงฉลองพระองค์ครุยเนติบัณฑิต ส่วนพระราชวงศ์ ข้าราชบริพาร ข้าราชการจะทรงฉลองพระองค์ครุยหรือสวมครุยเนติบัณฑิต หรือครุยอาจารย์ของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายเข็มบัณฑิตพิเศษของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ในฐานะพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ในครั้งนั้นได้พระราชทานพระราชดำรัสตอบว่า
"เรามีความขอบใจที่ให้เข็มบัณฑิตทั้ง ๓ พแนกแก่เรา เรามีความยินดีไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรเราจะตั้งใจอุปถัมภ์ให้กิจการได้เปนไปสำเร็จตามความมุ่งหมายและความพยายามของกรรมการ"
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรเวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมามหาวิทยาลัยได้ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
จะเห็นได้ว่าเนื้อหาที่มีในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยฉบับนี้ มีคุณค่าในการค้นคว้าทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี พุทธศาสนา และวิถีชีวิตในสังคมอดีต จึงนับเป็นแหล่งค้นคว้าแหล่งหนึ่งที่ควรให้ความสนใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น